ทำแบบทดสอบซึมเศร้าแล้วคะแนนขึ้นสูง ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าไหม? ต้องทำยังไงดี?

ทำแบบทดสอบซึมเศร้าแล้วคะแนนขึ้นสูง ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าไหม? ต้องทำยังไงดี?

ทำแบบทดสอบซึมเศร้าแล้วคะแนนขึ้นสูง ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าไหม? ต้องทำยังไงดี?

มีคำถามหนึ่งที่เพื่อนๆอาจจะเคยสงสัยกันบ่อยๆค่ะ 🤔 นั่นคือไปทำแบบทดสอบซึมเศร้ามาจากในเน็ต แล้วได้คะแนนสูงมาก แบบนี้ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า ⁉️

จริงๆแล้วแบบทดสอบซึมเศร้าในอินเตอร์เน็ตที่เราทำส่วนใหญ่ มักจะมีชื่อเรียกสั้นๆว่า “9Q” ค่ะ 👉 ประกอบไปด้วยคำถาม 9 ข้อที่เกี่ยวกับอาการเวลาที่เราเศร้า 📝 แบบวัดนี้ถูกพัฒนามาจากแบบประเมิน Patient Health Questionnaire หรือ PHQ-9 จากต่างประเทศ ซึ่งได้รับความนิยมเนื่องจากใช้ง่ายและรวดเร็ว ⚡️

เวลาที่เราทำแบบทดสอบนี้เสร็จก็จะมีคะแนนออกมา แล้วก็นำคะแนนที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์ค่ะ ว่าความเศร้าของเราอยู่ในระดับไหน 📊

✋️ แต่การได้คะแนนสูงก็ไม่ได้แปลว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าทันทีนะคะ

เพราะหากเราดูที่ข้อคำถามก็จะพบว่า หลายๆอาการที่แบบทดสอบถามเรานั้น มัน “เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เมื่อเรากำลังเศร้าทั่วๆไป” 😢 ไม่ว่าจะเศร้าจากเรื่องใดก็ตาม เช่น เวลาที่เศร้าเราก็อาจจะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกเหนื่อยง่ายอยู่แล้วใช่ไหมคะ

แปลว่าหากเรากำลังเศร้าอยู่และมาทำแบบสอบถาม ก็มีแนวโน้มที่คะแนนจะขึ้นสูง 📈 โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นโรคซึมเศร้าก็ได้

ดังนั้นอีกเกณฑ์ที่ต้องใช้พิจารณาร่วมด้วยก็คือเรื่องของ “เวลา” 🕑 เพราะความเศร้าทั่วๆไปบางเรื่อง ผ่านไปสักพักมันก็ดีขึ้นได้ หายเองได้ 💥 แต่ความเศร้าที่รุนแรง เข้มข้น จนเป็นภาวะ หรือเป็นโรค อาจจะอยู่กับเราอย่างยาวนาน

ในแบบทดสอบจึงให้เราได้สำรวจตัวเองในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ว่ามีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน เพื่อดูในมิติของระยะเวลาและความถี่ควบคู่ไปกับอาการด้วยค่ะ

✋️ แต่ถึงความเศร้าที่เกิดขึ้นจะกระทบเราในหลายมิติ และเป็นมานานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ทำแบบทดสอบแล้วคะแนนก็ขึ้นสูง เราก็ยังไม่ควรแปะป้ายตัวเองว่าเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ดีนะ

แบบทดสอบที่เราทำได้ด้วยตนเองมีหน้าที่เป็นแบบประเมินตัวเองเบื้องต้น 🔎 เป็นเหมือนก้าวแรกให้เรากลับมาตระหนักรู้ได้ชัดขึ้น แต่เราไม่สามารถและไม่ควรวินิจฉัยโรคด้วยตัวเอง

หากทำแล้วคะแนนขึ้นสูง ก็เป็นสัญญาณที่สะท้อนว่าช่วงนี้ไม่ค่อยโอเคเลย 😰 แนะนำให้มาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากต้องการการรับฟังและพูดคุย อาจจะลองเลือกพบนักจิตวิทยา หรือหากต้องการการวินิจฉัยก็สามารถพบจิตแพทย์ได้ 😊 เพื่อค่อยๆหาทางดูแลรับมือความเศร้าที่เกิดขึ้น แทบทุกความเศร้าต่างมีที่มาที่ไป สามารถเข้าใจได้และจัดการได้นะ 💚