ช่วงนี้หลายคนอาจได้เห็นข่าวคดีฟ้องร้องระหว่าง Johnny Depp และ Amber Heard ซึ่งระหว่างการไต่สวนมีการให้ข้อมูลจากทั้งจิตแพทย์ นักบำบัด รวมถึงนิติจิตแพทย์ ซึ่งเปิดเผยเนื้อหาที่พูดคุยกันในการบำบัด รวมถึงข้อมูลการวินิจฉัยโรค✍️ ทำให้หลายคนอาจสงสัยว่า 🧐 เอ๊ะ จิตแพทย์สามารถนำเรื่องในการปรึกษาออกมาบอกแบบนี้ได้ด้วยเหรอ?
เวลาเราไว้ใจที่จะพูดเรื่องลึกๆกับใคร เราก็คงไม่อยากให้เค้าไปพูดต่อใช่ไหมคะ? ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว นักจิตวิทยา/จิตแพทย์ ก็จะให้บริการบนพื้นฐานของการรักษาความลับ 🤝ไม่เปิดเผยข้อมูลในการพูดคุยให้ผู้อื่นรับรู้ ข้อนี้คือจรรยาบรรณสำคัญเลยค่ะ
แต่มีบางกรณีที่เป็นข้อยกเว้นคือ
👉 ผู้มาปรึกษามีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น ก็จำเป็นต้องแจ้งไปยังผู้ติดต่อฉุกเฉิน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ช่วยกันดูแลความปลอดภัยได้มากขึ้นค่ะ 🫂 กรณีนี้ต้องประเมินแล้วว่าเสี่ยงในระดับที่ต้องเปิดเผยความลับจริงๆ 🚦 และจะต้องแจ้งกับผู้รับบริการก่อนที่จะแจ้งบุคคลที่ 3
👉 อีกกรณี คือเป็นข้อบังคับของกฎหมาย เช่น หากศาลมีข้อคำถามเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพจิต 👩⚖️ จำเป็นต้องใช้ในการพิจารณาคดี นักจิตวิทยา/จิตแพทย์อาจจำเป็นต้องไปให้การต่อศาล 💬 อย่างในกรณีของ Johnny Depp และ Amber Heard นี่เองค่ะ
🔔 อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ค่อนข้าง sensitive มาก และเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายด้วย ในประเทศที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพจิตจริงจัง 📄 จะมีข้อกำหนดว่า ✔️สถานการณ์ใดที่นักจิตวิทยา/จิตแพทย์ สามารถเปิดเผยความลับได้ 🙅♀️ สถานการณ์ใดที่ไม่สามารถบอกกับผู้รับบริการก่อนว่าจะต้องเปิดเผยความลับ (ส่วนมากเกี่ยวกับคดีความค่ะ) ซึ่งข้อกำหนดนี้ก็แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
แม้จะมีเงื่อนไขดังกล่าว แต่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต ยังคงต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยความลับอยู่เสมอ 🧏♀️ และควรเปิดเผยเท่าที่จำเป็นและมีประโยชน์จริงๆ ค่ะ เพราะอย่างไรก็ตาม การรักษาความลับก็เป็นจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมถึงเป็นกุญแจสำคัญ 🗝ในการสร้างความไว้วางใจและสัมพันธภาพในการบำบัดรักษาที่ดี
ในมุมของคนที่มาปรึกษาเอง การพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาก็เป็นสิ่งที่จำเป็น🗣 และช่วยให้กระบวนการในการบำบัดรักษาเป็นไปได้อย่างเต็มที่ด้วยเช่นเดียวกันค่ะ แม้ว่าสิ่งนั้นอาจเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องถูกเปิดเผยความลับ แต่มันก็เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุด และความปลอดภัยของทุกฝ่ายนั่นเองค่ะ 💚