ต่อให้ทำงานที่รัก ก็ยัง Burn Out ได้

ต่อให้ทำงานที่รัก ก็ยัง Burn Out ได้ : เข้าใจและจัดการกับความรู้สึกหมดไฟอย่างไร

ต่อให้ทำงานที่รัก ก็ยัง Burn Out ได้

“ถ้าได้ทำงานที่รัก ก็เหมือนไม่ต้องทำงานไปทั้งชีวิต… ?” เคยมีคำพูดว่า ถ้าเราได้ทำในสิ่งที่เราชอบ แถมได้เงินจากมันด้วย เราคงสนุกกับมันจนไม่รู้สึกว่าตัวเองกำลังทำงานอยู่เลย 🥳

แต่ในชีวิตจริง หลายคนอาจกำลังทำงานที่ชอบ แต่ก็ยังคงรู้สึกเหนื่อย 😫 รู้สึกท้อ รู้สึกหมดไฟได้เหมือนกัน !

ภาวะหมดไฟ 🪫 หรือที่เรียกว่า Burn-Out Syndrome เป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนรู้สึกไม่มีความสุขกับการทำงาน อยากลาออก 👋 ไม่อยากตื่นไปทำงาน และอาจเข้มข้นหนักหน่วงจนกระทบกับมิติอื่นๆในการใช้ชีวิต เช่น การจัดการอารมณ์ ความสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งสุขภาพร่างกาย

ซึ่งสาเหตุที่แม้เราจะทำสิ่งที่รัก แต่ก็ยังหมดไฟได้ ก็เพราะว่าความรู้สึกที่เรามีต่องาน มองได้ 2 ด้านด้วยกันค่ะ

❤️ ด้านจิตใจ เช่น รู้สึกว่าเป็นงานที่ชอบ ทำแล้วมีความสุข รู้สึกว่ามีคุณค่า ได้รับการยอมรับ มีเป้าหมาย มีโอกาสเติบโต

🏃🏻 ด้านการใช้ชีวิต เช่น ได้รับเงินเดือนที่เหมาะสม ปริมาณงานที่เหมาะสม เพื่อนร่วมงานโอเค สภาพแวดล้อมในการทำงานดี มีความมั่นคงในงาน

ทั้งสองด้านนี้ต่างก็สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน 🔁 จำเป็นต้องมีควบคู่กันไป เราจึงจะทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

หากเป็นงานที่รัก รู้สึกว่ามีคุณค่า แต่ได้เงินเดือนน้อยเหลือเกิน 😞 งานหนักเหลือเกิน มันก็ไม่ไหว

หากเป็นงานที่เงินดีมาก 💰 มั่นคงมาก แต่รู้สึกว่าต้องฝืนใจทำทุกวัน ทำไปแล้วไม่ตอบโจทย์คุณค่าด้านจิตใจเลย ❤️‍🩹 ก็ไม่ไหวเช่นกัน

ความไม่ไหวที่สะสมไปเรื่อยๆนี่แหล่ะค่ะ ที่นำไปสู่ภาวะหมดไฟในที่สุด

แล้วทีนี้จะทำยังไงดี ถ้าเราเริ่มรู้สึกหมดไฟ ? 🫠

💁🏽‍♀️ อย่างแรกสุดเลยคือ มันไม่มีสูตรสำเร็จที่ทำแล้วหายหมดไฟ การกลับมาค่อยๆทบทวนว่าอะไรที่ทำให้เราหมดไฟกันแน่ จะช่วยให้เราได้ปรับ เติม ลด สิ่งที่ทำให้เราไม่มีความสุขในการทำงาน ซึ่งแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกันนะ

บางคนเมื่อก่อนทำงานก็รู้สีกมีความสุขดี แต่พอเลื่อนตำแหน่ง งานหนักขึ้น 📈 ก็หมดไฟได้

บางคนพอเจอสถานการณ์โควิด ต้อง Work From Home ต้องคิดเรื่องงานตลอดเวลาจนไม่มีเวลาพัก 🤢 ก็หมดไฟได้

จากประสบการณ์ในการให้บริการของเรา อีกสิ่งที่ทำให้คน Burn-Out ได้มาก ก็คือความกดดันตัวเองนี่แหละค่ะ 🤯 ฉันอยากทำให้ได้ อยากให้ผลงานออกมาดี จนเครียดมากเกินไป ไม่มีความสุขกับการทำงาน และรู้สึกหมดไฟในที่สุด

และอย่าลืมว่าปัจจัยต่างๆไม่ได้มาจากเราฝ่ายเดียว! แต่ระบบและวัฒนธรรมองค์กรก็มีส่วนอย่างมากที่ทำให้พนักงานหมดไฟ

บางครั้งเวลาที่เราอยู่ในปัญหา มันก็ยากเหมือนกันนะคะที่จะมองเห็นที่มาที่ไปได้ของปัญหานั้นได้อย่างชัดเจน การมาปรึกษานักจิตวิทยาก็เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้ทุกคนได้เข้าใจที่มาที่ไป และหาทางรับมือกับความรู้สึกหมดไฟนั้นได้นะคะ

ถ้ารู้สึกไม่ไหว ไม่จำเป็นต้องสู้คนเดียว มาพูดคุยกันได้นะ 😊